ความรู้เรื่องโรคสำหรับประชาชน

ปัสสาวะไหลย้อนกลับ คืออะไร Vesicoureteral reflux (VUR)

 

เคยบ้างไหมที่ลูกของเราเป็นไข้ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอยู่ หลายๆครั้ง มาวันหนึ่งทราบว่า ลูกเป็น โรคปัสสาวะไหลย้อนกลับ  ลองมาทำความรู้จักกันเบื้องต้นพร้อมกันก่อนนะครับ

 

Vesicoureteral reflux(VUR) เป็นภาวะที่ปัสสาวะไหลย้อนกลับจากกระเพาะปัสสาวะขึ้นสู่ท่อไตหรือไต  แบ่งออกเป็น

        PrimaryVURเกิดจากความผิดปกติของกลไกป้องกันการไหลย้อนกลับของปัสสาวะซึ่งโดยปกติมีลักษณะเป็น Flap valve mechanism ที่บริเวณรอยต่อของท่อไตเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะความผิดปกติดังกล่าวอาจเป็นตั้งแต่กำเนิด เนื่องจากความยาวของท่อไตใต้เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะ(Submucosal tunnel) สั้นกว่าปกติ

        SecondaryVURเกิดจากการที่มีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างหรือ เกิดจากการทำงานของกระเพาะปัสสาวะที่ผิดปกติ เช่น neurogenicbladder, voiding dysfunction etc. ส่งผลให้ความดันในกระเพาะปัสสาวะสูงขึ้นจนเกิดภาวะปัสสาวะไหลย้อนกลับ

 

ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดแผลที่ไต

              ความดันโลหิตสูง( Hypertension ) หรือ การทำงานของไตเสื่อมถอย (Renal insufficiency) 

แนวทางในการตรวจหาความผิดปกติ แพทย์จำเป็นต้องใช้การตรวจทางรังสีวิทยาไม่ว่าจะเป็น

                Ultrasonography เนื่องจากเป็นวิธีที่ Less invasive ต่อผู้ป่วยจึงเป็น  investigation ที่นิยมตรวจในผู้ป่วยเด็ก

                Voiding cystourethrography (VCUG) เป็นการตรวจที่จะพบความผิดปกติ VURได้มากที่สุดซึ่งพบมากกว่า 50% ในผู้ป่วยเด็กที่มีประวัติติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเนื่องจากมีความจำเป็นต้องใส่สายสวนในกระเพาะปัสสาวะเพื่อฉีดสารทึบแสงจึงควรพิจารณาในการส่งตรวจแต่ละครั้ง เนื่องจากเป็น Invasive investigation

                Radionuclide scan เป็นการตรวจที่ ช่วยบอกความผิดปกติที่ตัวเนื้อไตได้เพื่อประเมิน Renal scar ของผู้ป่วย 

 

ระดับความรุนแรงของภาวะปัสสาวะไหลย้อนกลับ(VURGrading)

 

        ระดับความรุนแรงของ VUR แบ่งออกเป็น5 ระดับ ตาม International classification of vesicoureteral reflux

 

การที่ท่อไต มีภาวะปัสสาวะไหลย้อนกลับอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ท่อไตมีการเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างดังภาพ

 

แนวทางการรักษา

  1.  การรักษาด้วยยา เพื่อป้องกันการติดเชื้อ      
  2.  การรักษา โดยการผ่าตัด ภาวะปัสสาวะไหลย้อนกลับที่เป็นอยู่นานอย่างต่อเนื่องอาจทำอันตรายต่อเนื้อไตรวมทั้งอาจเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซึ่งทำให้เกิดแผลเป็นที่ไตดังนั้นการรักษาโดยการผ่าตัดจึงหวังผลลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวปัจจุบันการรักษาโดยการผ่าตัดแบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่
  • การผ่าตัดฝังท่อไตใหม่(Ureteric reimplantation)  
  • การฉีดสารบริเวณท่อไตผ่านทางกล้องที่สอดผ่าท่อปัสสาวะ(Endoscopic injection) 

 

นพ.ศรัณย์ ลิมปิวรรณ